- สารพันปัญหาน่ารู้
- 17 ตุลาคม 2023
- 527 views
สังคมผู้สูงวัย... ทำยังไงกันดีนะ ! “สถานดูแลผู้สูงอายุ” รู้ไว้จะได้ของดี !
สังคมผู้สูงวัย... ทำยังไงกันดีนะ ! “สถานดูแลผู้สูงอายุ” รู้ไว้จะได้ของดี !
คนแก่ , ชรา , สูงวัย , สูงอายุ ... สุดแต่จะเรียกขานตามสะดวก แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าพวกเราๆ จะถูกเรียกกันแบบนี้ ขอบอกเลยนะ ต้องอายุ 60 ปีขึ้นไปจ้า อายุไม่ถึงอย่าได้มีใคร อาจหาญมาเรียกเราว่าคนแก่นะ ! อันนี้ไม่ได้คิดเอง เออเอง แต่มาจาก องค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศใช้กันทั่วโลก ส่วนประเทศไทย ได้กำหนดนิยามผู้สูงอายุ อย่างเป็นทางการ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ มีสัญชาติไทย
ที่เกริ่นเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะอยากชวนคุยเรื่องสังคมผู้สูงวัย ที่ตอนนี้ เมืองไทยเราเดินหน้ามาอย่างสมบูรณ์เพราะมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน
การรับมือกับเรื่องนี้สำคัญมากนะทำให้ทำผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งวางระบบการดูแลทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงการต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้นนั้นไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่ในขณะเดียวกันกับที่ลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยทำงานยังมีภาระต้องทำมาหากิน ดังนั้นเวลาที่จะอยู่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงน้อยลงไปด้วย “สถานดูแลผู้สูงอายุ” จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้
แต่ !! “คุณภาพ กับ มาตรฐาน มันดีพอจะให้ลูก-หลานวางใจส่งผู้สูงอายุอันเป็นที่รักมาฝากให้ดูแลหรือไม่ ? เพราะจากข้อมูล พบว่า มีเปิดบริการกว่า 4 พันแห่ง แต่มีแค่กว่า 1 พันแห่ง ที่ยื่นจดทะเบียนกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปัญหาเกิดทันที เมื่อของไม่ได้คุณภาพ กลายเป็นช่องทางการหลอกลวง
โดยบริษัทนายหน้าจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่จะส่งไปดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการร้องเรียน เยอะมาก ขณะที่“สถานดูแลผู้สูงอายุ” ที่ได้คุณภาพ ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือการเข้าถึงยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะปานกลางหรือฐานะร่ำรวย
แล้วจะทำอย่างไร ? มีช่องทางที่เยี่ยมยอดอยู่ใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 266 ที่นำเสนอเรื่องคุณภาพ “สถานดูแลผู้สูงอายุ” รับ “Ageing Societies” เมืองไทย คุณจะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับ “คุณภาพ มาตรฐานประเทศไทยและต่างประเทศ” , “ระบบ 3 หมอ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชุมชน”
“สภาพปัญหาและเรื่องร้องเรียน” , ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคหรือใช้สิทธิตามกฎหมายอื่น
รายละเอียดอ่านต่อจากลิงก์นี้ https://www.chaladsue.com/article/4294?fbclid=IwAR3rjfBTJMh8Ndgu-WtNeJASo9ZQByu7kQRnfZWnLIv10o-LwYJCxtMf8qM
คนแก่ , ชรา , สูงวัย , สูงอายุ ... สุดแต่จะเรียกขานตามสะดวก แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าพวกเราๆ จะถูกเรียกกันแบบนี้ ขอบอกเลยนะ ต้องอายุ 60 ปีขึ้นไปจ้า อายุไม่ถึงอย่าได้มีใคร อาจหาญมาเรียกเราว่าคนแก่นะ ! อันนี้ไม่ได้คิดเอง เออเอง แต่มาจาก องค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศใช้กันทั่วโลก ส่วนประเทศไทย ได้กำหนดนิยามผู้สูงอายุ อย่างเป็นทางการ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และ มีสัญชาติไทย
ที่เกริ่นเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะอยากชวนคุยเรื่องสังคมผู้สูงวัย ที่ตอนนี้ เมืองไทยเราเดินหน้ามาอย่างสมบูรณ์เพราะมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน
การรับมือกับเรื่องนี้สำคัญมากนะทำให้ทำผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งวางระบบการดูแลทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงการต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้นนั้นไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่ในขณะเดียวกันกับที่ลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยทำงานยังมีภาระต้องทำมาหากิน ดังนั้นเวลาที่จะอยู่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงน้อยลงไปด้วย “สถานดูแลผู้สูงอายุ” จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้
แต่ !! “คุณภาพ กับ มาตรฐาน มันดีพอจะให้ลูก-หลานวางใจส่งผู้สูงอายุอันเป็นที่รักมาฝากให้ดูแลหรือไม่ ? เพราะจากข้อมูล พบว่า มีเปิดบริการกว่า 4 พันแห่ง แต่มีแค่กว่า 1 พันแห่ง ที่ยื่นจดทะเบียนกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ปัญหาเกิดทันที เมื่อของไม่ได้คุณภาพ กลายเป็นช่องทางการหลอกลวง
โดยบริษัทนายหน้าจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่จะส่งไปดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการร้องเรียน เยอะมาก ขณะที่“สถานดูแลผู้สูงอายุ” ที่ได้คุณภาพ ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือการเข้าถึงยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะปานกลางหรือฐานะร่ำรวย
แล้วจะทำอย่างไร ? มีช่องทางที่เยี่ยมยอดอยู่ใน นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 266 ที่นำเสนอเรื่องคุณภาพ “สถานดูแลผู้สูงอายุ” รับ “Ageing Societies” เมืองไทย คุณจะได้รู้เรื่องเกี่ยวกับ “คุณภาพ มาตรฐานประเทศไทยและต่างประเทศ” , “ระบบ 3 หมอ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชุมชน”
“สภาพปัญหาและเรื่องร้องเรียน” , ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคหรือใช้สิทธิตามกฎหมายอื่น
รายละเอียดอ่านต่อจากลิงก์นี้ https://www.chaladsue.com/article/4294?fbclid=IwAR3rjfBTJMh8Ndgu-WtNeJASo9ZQByu7kQRnfZWnLIv10o-LwYJCxtMf8qM