- สารพันปัญหาน่ารู้
- 22 พฤศจิกายน 2023
- 492 views
พลิกโฉมงานก่อสร้าง ! คอนกรีต ซ่อมตัวเองได้ คอนกรีตผสมแบคทีเรีย ที่เมื่อแตกแล้ว สามารถซ่อมตัวเองได้
มิติใหม่ของวงการก่อสร้าง เมื่อคอนกรีตในวันนี้ซ่อมตัวเองได้แล้ว จากนวัตกรรมคอนกรีตที่มีส่วนผสมจากแบคทีเรีย เปลี่ยนการใช้คอนกรีตแบบเดิม ๆ ไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น
คอนกรีตเป็นวัสดุที่ใช้กันมากที่สุดในการก่อสร้างและถูกใช้งานมานานหลายทศวรรษ เพราะมีความ แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นสูง คอนกรีตได้รับการพัฒนาขึ้นจนมีหลายแบบ หลายเกรดให้ได้เลือกใช้งานตามองค์ประกอบและประสิทธิภาพ
Bio Concrete คลื่นลูกใหม่ของคอนกรีตเพื่อความยั่งยืน
แนวคิดแรกในการพัฒนาคอนกรีตจากวัสดุชีวภาพเริ่มจาก นักจุลชีววิทยาชาวดัทช์ Hendrik Jonkers ในปี 2006 กับคำถามที่ว่า “จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้แบคทีเรียเพื่อสร้างคอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้”
ในที่สุดในปี 2017 เขาได้พัฒนาคุณสมบัติสุดเจ๋งของคอนกรีตที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคอนกรีตปกติเล็กน้อยโดยการผสมแบคทีเรียเข้าไป ซึ่งไม่กระทบกับประสิทธิภาพของคอนกรีตแบบเดิม ๆ
แต่เพิ่มคุณสมบัติการซ่อมแซมตัวเองเมื่อแตกร้าว โดยการใช้นํ้าเข้าไปกระตุ้นให้แบคทีเรียผลิตหินปูนที่จะมาช่วยผสานรอยแตกได้นั่นเอง
4 ข้อดีของ Bio Concrete ต่อวงการรับเหมาก่อสร้าง
ปิดผนึกรอยแตกขนาดเล็ก: Bio Concrete สามารถปิดผนึกรอยแตกร้าวขนาดเล็ก ป้องกันไม่ให้ขยายตัวและทำให้โครงสร้างเสียหายอย่างมาก สามารถผสานรอยแตกร้าวได้กว้างถึง 0.8 มิลลิเมตร
ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานได้หลายประเภท: เนื่องจาก Bio Concrete ไม่ได้เปลี่ยนความสามารถของคอนกรีตแบบเดิม ๆ จึงสามารถใช้ได้ในการก่อสร้างได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สะพาน อาคาร อุโมงค์ และโครงสร้างพื้นฐานประเภทอื่น ๆ ได้ตามต้องการ เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: Bio Concrete ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน จากการลดการใช้คอนกรีตน้อยลงในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมร้อยแตกร้าวขนาดเล็ก
อายุการใช้งานยืนยาว: Bio Concreteคาดว่าจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 200 ปีภายใต้องค์ประกอบที่เหมาะสม สามารถทนทานภายใต้สภาพอากาศและสภาวะทางกายภาพที่หลากหลายก็ตาม
Bio Concrete กำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าจะเข้ามาเปลี่ยนเกมในวงการก่อสร้างไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้วัสดุทางชีวภาพที่ช่วยซ่อมแซมตัวเองได้ Hendrick Jonkers ยั่งคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา Bio Concrete เพิ่มความคุ้มทุนในการผลิตและตอบสนองการใช้งาน สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
อ้างอิง: edition.cnn
คอนกรีตเป็นวัสดุที่ใช้กันมากที่สุดในการก่อสร้างและถูกใช้งานมานานหลายทศวรรษ เพราะมีความ แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นสูง คอนกรีตได้รับการพัฒนาขึ้นจนมีหลายแบบ หลายเกรดให้ได้เลือกใช้งานตามองค์ประกอบและประสิทธิภาพ
Bio Concrete คลื่นลูกใหม่ของคอนกรีตเพื่อความยั่งยืน
แนวคิดแรกในการพัฒนาคอนกรีตจากวัสดุชีวภาพเริ่มจาก นักจุลชีววิทยาชาวดัทช์ Hendrik Jonkers ในปี 2006 กับคำถามที่ว่า “จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้แบคทีเรียเพื่อสร้างคอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้”
ในที่สุดในปี 2017 เขาได้พัฒนาคุณสมบัติสุดเจ๋งของคอนกรีตที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคอนกรีตปกติเล็กน้อยโดยการผสมแบคทีเรียเข้าไป ซึ่งไม่กระทบกับประสิทธิภาพของคอนกรีตแบบเดิม ๆ
แต่เพิ่มคุณสมบัติการซ่อมแซมตัวเองเมื่อแตกร้าว โดยการใช้นํ้าเข้าไปกระตุ้นให้แบคทีเรียผลิตหินปูนที่จะมาช่วยผสานรอยแตกได้นั่นเอง
4 ข้อดีของ Bio Concrete ต่อวงการรับเหมาก่อสร้าง
ปิดผนึกรอยแตกขนาดเล็ก: Bio Concrete สามารถปิดผนึกรอยแตกร้าวขนาดเล็ก ป้องกันไม่ให้ขยายตัวและทำให้โครงสร้างเสียหายอย่างมาก สามารถผสานรอยแตกร้าวได้กว้างถึง 0.8 มิลลิเมตร
ใช้กับโครงสร้างพื้นฐานได้หลายประเภท: เนื่องจาก Bio Concrete ไม่ได้เปลี่ยนความสามารถของคอนกรีตแบบเดิม ๆ จึงสามารถใช้ได้ในการก่อสร้างได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สะพาน อาคาร อุโมงค์ และโครงสร้างพื้นฐานประเภทอื่น ๆ ได้ตามต้องการ เปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: Bio Concrete ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน จากการลดการใช้คอนกรีตน้อยลงในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมร้อยแตกร้าวขนาดเล็ก
อายุการใช้งานยืนยาว: Bio Concreteคาดว่าจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 200 ปีภายใต้องค์ประกอบที่เหมาะสม สามารถทนทานภายใต้สภาพอากาศและสภาวะทางกายภาพที่หลากหลายก็ตาม
Bio Concrete กำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าจะเข้ามาเปลี่ยนเกมในวงการก่อสร้างไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้วัสดุทางชีวภาพที่ช่วยซ่อมแซมตัวเองได้ Hendrick Jonkers ยั่งคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา Bio Concrete เพิ่มความคุ้มทุนในการผลิตและตอบสนองการใช้งาน สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
อ้างอิง: edition.cnn